คณะได้กำหนดนโยบายสอดคล้องตามนโยบายมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาภารกิจ ระยะ 20 ปี ให้บรรลุตามเป้าหมายในการเป็นคณะที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนไว้ ดังนี้ |
1. ด้านการเป็นคณะเพื่อท้องถิ่น |
1.1 คณะมีระบบการบริหารจัดการพันธกิจสัมพันธ์ ที่มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็ว สอดคล้องกับเทคโนโลยี 4.0 รองรับการบริหารจัดการร่วมกับชุมชน เข้าใจ เข้าถึงและเข้าร่วมพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็งโดยการบูรณาการภารกิจด้านการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น |
1.2 คณะขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นบนฐานความรู้และนวัตกรรม ที่ได้จากการศึกษา วิจัย เพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานความรู้และนวัตกรรมของชุมชน สร้างความโดดเด่นและความสามารถทางการแข่งขันให้ประชาชนในชุมชน |
1.3 คณะแห่งการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ร่วมพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่เสริมสร้างศักยภาพชุมชน การเรียนรู้ของชุมชนตามแนวทางตามพระราชดำริ สร้างวัฒนธรรมองค์กร มีความเชื่อมั่นและนับถือในตนเองสูงขึ้น |
1.4 คณะที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนมีการบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต สร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี มีดัชนีความสุขเพิ่มขึ้น และได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม |
2. ด้านการผลิตบัณฑิต |
2.1 คณะปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 หลักสูตรสหวิทยาการ หลักสูตรแบบสหกิจศึกษา และหลักสูตรแบบ WIL ให้มีเอกลักษณ์ของบัณฑิต สร้างจุดเด่น จุดเน้นของหลักสูตร สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และนโยบายการพัฒนาประเทศ ให้หลักสูตรมีคุณภาพมาตรฐาน ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ หรือได้รับการเผยแพร่ตามกรอบมาตรฐาน TQF หรือ TQR |
2.2 คณะปรับปรุงและพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จัดสรรทรัพยากร สื่อ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติการให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ เพื่อให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน มีความทันสมัย คล่องตัว ยืดหยุ่น รองรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Blended-Learning & WIL: Work Integrated Learning |
2.3 คณะจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาตามจุดเด่นจุดเน้นของหลักสูตร พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล บูรณาการจัดการเรียนการสอนกับงานวิจัย ด้วยความร่วมมือกับท้องถิ่นและพื้นที่ จัดกิจกรรมบริการวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริม ถ่ายทอดเทคโนโลยีและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมแก่ท้องถิ่นและพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาจากปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น |
2.4 พัฒนาอาจารย์ให้เป็นครูมืออาชีพ สร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา ร่วมศึกษา วิจัย พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาตามจุดเด่น จุดเน้นของหลักสูตร ส่งเสริมให้อาจารย์ได้รับการฝึกปฏิบัติการในโรงเรียนหรือสถานประกอบการที่มีคุณภาพ เพื่อฝึกทักษะและประสบการณ์ให้เท่าทันกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต รองรับการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา และ WIL |
3. ด้านการวิจัย |
3.1 พัฒนาระบบและกลไก มาตรการ การบริหารจัดการงานวิจัยให้มีความรวดเร็ว ทันสมัยและคล่องตัว และกำกับติดตามมาตรการการบริหารจัดการงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล |
3.2 สร้างเครือข่ายและพันธมิตรร่วมกับสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ บูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและพื้นที่ ร่วมกับการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Big Data) ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยเชิงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง |
3.3 มุ่งเน้นการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย สร้างนวัตกรรมด้วยศาสตร์พระราชา เพื่อการแก้ปัญหาหรือความต้องการของท้องถิ่นเชิงพื้นที่และเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์เชิงนโยบาย และการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) สู่มาตรฐานนานาชาติ |
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทุกคนมีผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เน้นให้ศึกษา วิจัย ที่บูรณาการจัดการเรียนรู้ ร่วมกับการให้บริการวิชาการ และการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่การนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและพื้นที่ และเผยแพร่ผลงานในระดับชาติหรือนานาชาติ |
4. ด้านบริการวิชาการและศิลปะและวัฒนธรรม |
4.1 จัดระบบและกลไกการบริหารจัดการและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการยกระดับชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยระบบการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าต่อการพัฒนาท้องถิ่น |
4.2 ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด และเผยแพร่การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เชิงสร้างสรรค์และเกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ท้องถิ่นในพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจ รายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการประกอบอาชีพที่หลากหลาย สร้างต้นแบบเพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ |
4.3 ส่งเสริมสุขภาวะให้ชุมชนพื้นที่บริการ เพื่อลดอัตราการป่วย ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงวัยเพื่อรับมือสังคมสูงวัย |
4.4 พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะให้กับผู้นำชุมชน เยาวชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา |
5. ด้านบริหารจัดการคณะ |
5.1 คณะร่วมกับมหาวิทยาลัยปรับโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการทรัพยากร (Resources) (คน เงิน งาน อาคารสถานที่ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และอื่น ๆ) ปรับปรุงระบบไอซีที และระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร ให้ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ทันสมัย คล่องตัว รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ |
5.2 พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการองค์กร ด้วยระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (SAR) เกณฑ์การบริหารจัดการศึกษาเป็นเลิศ (Educational Criteria for Performance Excellence: EdPEx) เพื่อสู่การรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพหรือมาตรฐานองค์การ มีความพร้อมในการพึ่งพาตนเอง (Self-Regulation) มีความโปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (Autonomous University) |
5.3 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมความรัก ความผูกพันกับองค์กร ส่งเสริมการศึกษาต่อเพื่อให้มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและวิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น |
5.4 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อยกระดับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับการรับรองในวิชาชีพ ความเป็นมืออาชีพ พัฒนางานวิจัย นวัตกรรม พัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมเข้าสู่ Smart Green & Clean & University พัฒนาระบบการบริหารจัดการเว็บไซต์และฐานข้อมูลที่มีคุณภาพ |